วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ

             คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์ ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้งและรวบรวมเพื่อประกาศผล                           
                  การคิดภาษีอากร การบริหารทั่วไป การสวัสดีการต่าง ๆ การรวบรวมข้อมูลและสถิติ การบริหารงาน การทำงานสาธารณูปโภคในการทหารอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ในการยิงจรวจนำวิถี การยิ่งปืนใหญ่ การเดินเรือรบ เป็นต้น        
                 กระทรวงยุติธรรมใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกคำพิพากษาศาลฎิกาฉบับย่อทุกคดีให้ผู้พิพากษาได้ค้นหาคดีต่าง ๆ เพื่อประกอบพิจารณาตัดสินความ
                กระทรวงศึกษาธิการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำประวัติครูทั่วประเภท ทำสถิตินักเรียนและโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อช่วยในการบริหารการศึกษาทั่วประเทศ
                 กระทรวงพาณิชย์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำสถิติข้อมูลการค้าของประเทศ ทำดัชนีราคา เก็บทะเบียนการค้า การควบคุมโควต้าการส่งออกสินค้าบางชนิด ฯลฯ
                กระทรวงอุตสาหกรรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บทะเบียนโรงงาน ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติกระทรวงเกษตรใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร เพื่อวางแผนร่วมกับ
                กระทรวงพาณิชย์ในการส่งเสริมการผลิต
                กระทรวงมหาดไทยใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนสำมะโนครัว บัตรประจำตัวประชาชน รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ของกระทรวงก็มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ เช่น      กรมราชทัณฑ์ใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมรายชื่อผู้ต้องขังในคดีต่าง ๆ คำนวณวันพ้นโทษ คำนวณวันอภัยโทษ      กรมตำรวจใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนประวัติอาชยากร รวบรวมสถิติอาชญากรรม การติดต่อสื่อสาร
                กระทรวงการคลังใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากรและตรวจสอบว่าการเสียภาษีอากรถูกต้องหรือไม่
การไฟฟ้า การประปา และองค์การโทนศัพท์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชีและออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ใช้บริการ

โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก

ประเภทของโปรแกรมสำหรับงานกราฟิก          

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

          ในอดีตคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ( Computer Graphics ) สามารถถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้แพร่หลายมากขึ้นและผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกก็มีอยู่ทุกระดับ
       
          ความรู้เรื่องความละเอียด
พิกเซล ( Pixel)      
          พิกเซล (Pixel) เป็นคำผสมของคำว่า Picture กับคำว่า Element หรือหน่วยพื้นฐานของภาพ เทียบได้กับ "จุดภาพ" 1 จุด แต่ละพิกเซลเปรียบได้กับสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่บรรจุค่าสี โดยถูกกำหนดตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และแกน y หรือในตารางเมตริกซ์สี่เหลี่ยม ภาพบิตแมปจะประกอบด้วยพิกเซลหลายๆ พิกเซล

ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution ) 
          คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่

ความละเอียดของรูปภาพ 
           หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต

ความละเอียดของจอภาพ           หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย

ความละเอียดของเครื่องพิมพ์
           คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว


ระบบสีของคอมพิวเตอร์
ระบบสี Additive       
<>RGB Color
            ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน

           สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สี  น้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB ดังนี้

ระบบสี Subtractive
            ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สัญญาณไวร์เลสมีอันตรายหรือไม่ ??

              
                   สัญญาณไวร์เลสมีอันตรายหรือไม่ ?? .. มีอันตราย เพราะ การใช้ไวร์เลส ในพื้นที่สาธารณะ ย่านธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า เสี่ยงสูง ถูกแฮกเกอร์ล้วงข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งภาพหวิว คลิปฉาว แนะนำอย่าทำธุรกรรมทางการเงินในที่สาธารณะ จะปลอดภัยที่สุด

                  ซึ่งจากข้อมูล สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการหลอกลวงของผู้กระทำความผิดทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ ประกอบกับสถานการณ์ที่คนไทยปัจจุบันต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีไร้สายอย่างโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้กระทำความผิดใช้หลอกลวงผู้เสียหาย ดังปรากฏ เป็นข่าวให้เห็นเสมอ

                   ประกาศเตือนและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและระมัดระวังตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตของคนไทยยังมีอีกหลายแง่มุม ที่ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ก็คือการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ไร้สาย

                   ปัจจุบันเริ่มมีประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต หรือใช้สัญญาณไวร์เลสในการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งที่บ้านและในที่สาธารณะ อาจเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้กระทำความผิดก่อเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมามีการโจรกรรมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า แฮกเกอร์แม้จะกระทำผ่านคอมพิวเตอร์บ้านไม่ใช่แบบไร้สาย การติดตามตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีก็ยังเป็นเรื่องยาก

                  แต่การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดก่อเหตุโดยง่ายแล้วยังทำให้การติดตามตัวผู้กระทำความผิด เป็นไปด้วยความยากลำบากขึ้นอีกด้วย

                  หากพบสัญญาณ โปรแกรมดังกล่าวจะโชว์หมายเลขโทรศัพท์และชื่อของเจ้าของเครื่องนั้นๆ แฮกเกอร์จะทดลองเจาะเข้าไปทีละเครื่องโดยการส่ง SMS ด้วยข้อความล่อลวงต่างๆ เพียงเพื่อให้ประชาชนกดปุ่มใดปุ่มหนึ่งบนโทรศัพท์ และไม่ว่าจะเลือกกดปุ่มใดแฮกเกอร์ก็สามารถทำให้เป็นการตอบตกลงตามข้อเสนอ

                  ผลที่ออกมาก็เหมือนเป็นการยืนยันการต่อสัญญาณให้แฮกเกอร์ หลังจากนั้นก็จะขโมยข้อมูลทั้งหมด และอาจมุ่งเป้าไปที่การทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์ เพราะหากมันทำสำเร็จนั่นหมายความว่า ทรัพย์ที่ได้จากการโจรกรรมจะมีมูลค่ามหาศาลทีเดียว

                  ดังนั้น จึงเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการใช้ระบบสื่อสารไร้สาย ทั้งไวร์เลสว่า ไม่ควรเชื่อมต่อระบบไวร์เลสกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊กที่มีข้อมูลสำคัญ หากจะเก็บข้อมูลสำคัญควรเก็บไว้ในที่ๆ แฮกเกอร์เข้าถึงยาก เช่น แฟลชไดร์ เอ็กเทอร์นอลฮาร์ดดิสก์ ซีดี และควรเข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญ เป็นต้น ยิ่งนำไปใช้ในที่สาธารณะควรระมัดระวังเป็นพิเศษ


 

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

OSI Model 7 layer




การแบ่งชั้นใน OSI Model
โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ


1. application layer
            
           เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมุลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็นต้น ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ Web Browser,HTTP,FTP,Telnet,WWW,SMTP,SNMP,NFS เป็นต้น
2. Presentation Layer

                เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text,EBCDIC,Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binary ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ JPEG,ASCII,Binary,EBCDICTIFF,GIF,MPEG,Encription เป็น

3. Session Layer



วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเข้าสายLAN

วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45    
       1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน
   
       2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วเรียงสายตามสีที่กำหนด
                สาย สัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้าน
รูปแสดง การเรียงสีของสาย UTP
ชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps    
   
หัวสายด้านที่ 1
ลำดับสายที่
หัวสายด้านที่ 2
ขาว
ส้ม
1
ขาว
ส้ม
ส้ม
2
ส้ม
ขาว
เขียว
3
ขาว
เขียว
ฟ้า
4
ฟ้า
ขาว
ฟ้า
5
ขาว
ฟ้า
เขียว
6
เขียว
ขาว
น้ำตาล
7
ขาว
น้ำตาล
น้ำตาล
8
น้ำตาล

การต่อสายแลน

การต่อสายแลน

วิธีการเข้าสายLAN

1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน
2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วแรียงสายตามสีที่กำหนด

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เครือข่ายแบบดาว ( Star Network )

แบบดาว (Star Network)   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง
ในการต่อแบบนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะถูกต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางโดยตรง จึงไม่มีปัญหาการแย่ง การใช้สายสื่อสาร จึงทำให้มีการตอบสนอง
ที่รวดเร็วการส่งข้อมูลแต่ละสถานี (เครื่องคอมพิวเตอร์ย่อยๆ) ก็จะส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก่อนแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางนี้จะเป็นผู้ส่งไป
ยังสถานีอื่นๆ การควบคุมการรับส่งภายในระบบทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางดังนั้นถ้าเครื่องศูนย์กลางมีปัญหาขัดข้องก็จะทำให้
ระบบทั้งระบบต้องหยุดชะงักทันที



  
ข้อดี
      1. เป็นระบบที่ง่ายต่อการติดตั้ง
      2. เนื่องจากการรับ – ส่งข้อมูลขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางทั้งหมดจึงทำให้การรับ – ส่งข้อมูลทำได้ง่าย
      3. หากอุปกรณ์ชิ้นใดเสียหายก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ เพราะมีการใช้อุปกรณ์ที่แยกออกจากกัน
      4. การตอบสนองที่รวดเร็วเพราะไม่ต้องแย่งกันใช้สายสื่อสาร
      5. หากสถานีใดเกิดความเสียหายก็สามารถที่จะตรวจสอบได้ง่าย

ข้อเสีย
      1. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษามาก
      2. หากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางขัดข้อง ก็จะทำให้ระบบใช้งานไม่ได้ทันที
      3. ขยายระบบได้ยากเพราะต้องทำจากศูนย์กลางออกมา
      4. เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

       
1.ความหมายและความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์
  พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายคำที่เกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ไว้ดังนี้ คำว่าสิ่งพิมพ์ หมายถึง สมุด แผ่นกระดาษ หรือวัตถุใด ๆ ที่พิมพ์ขึ้น รวมตลอดทั้งบทเพลง แผนที่ แผนผัง แผนภาพ ภาพวาด ภาพระบายสี ใบประกาศ แผ่นเสียง หรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะเช่นเดียวกัน
          “สื่อ หมายถึง ก. ทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน
                            น. ผู้หรือสิ่งที่ทำการติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน
          “พิมพ์ หมายถึง ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพ เป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่น แผ่นกระดาษ ผ้า ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา
                            น. รูป , รูปร่าง, ร่างกาย, แบบ
           ดังนั้น สื่อสิ่งพิมพ์จึงมีความหมายว่า สิ่งที่พิมพ์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผ่นกระดาษหรือวัตถุใด ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อันเกิดเป็นชิ้นงานที่มีลักษณะเหมือน ต้นฉบับขึ้นหลายสำเนาในปริมาณมากเพื่อเป็นสิ่งที่ทำการติดต่อ หรือชักนำให้บุคคลอื่นได้เห็นหรือทราบ ข้อความต่าง ๆ

2. ประวัติและความเป็นมาของสื่อสิ่งพิมพ์
             หลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะได้ปรากฏบนผนังถ้ำอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน และถ้ำลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส มีผลงานแกะสลักหิน แกะสลักผนัง ถ้าเป็นรูปสัตว์ลายเส้นจึงเป็นหลักฐานในการแกะพิมพ์ เป็นครั้งแรกของมนุษย์ หลังจากนั้นได้มีบุคคลคิดวิธีการทำกระดาษขึ้น จนมาเป็นการพิมพ์ในปัจจุบัน นั่นคือ ไซลั่น ซึ่งมีเชื้อสายจีน ชาวจีน ได้ผลิตทำหมึกแท่งขึ้น ซึ่งเรียกว่า บั๊ก
ประวัติการพิมพ์ในประเทศไทย
          ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือคำสอนทางศาสนา คริสต์ขึ้น และหลังจากนั้นหมอบรัดเลย์เข้ามาเมืองไทย และได้เริ่มด้านงานพิมพ์จนสนใจเป็นธุรกิจด้านการพิมพ์ 

           ในเมืองไทย พ.ศ.2382 ได้พิมพ์เอกสารทางราชการเป็นชิ้นแรก คือ หมายประกาศห้ามสูบฝิ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้จ้างพิมพ์จำนวน 9,000 ฉบับ ต่อมาเมื่อวันที่ ก.ค.2387 ได้ออกหนังสือฉบับแรกขึ้น คือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ (Bangkok Recorder) เป็นจดหมายเหตุอย่างสั้น ออกเดือนละ 2 ฉบับ และใน 15 มิ.ย. พ.ศ.2404 ได้พิมพ์หนังสือเล่มออกจำหน่ายโดยซื้อลิขสิทธิ์จาก หนังสือนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัยและได้เริ่มต้นการซื้อขาย ลิขสิทธ ิ์จำหน่ายในเมืองไทย หมอบรัดเลย์ได้ถึงแก่กรรมในเมืองไทยกิจการ การพิมพ์ของไทยจึงเริ่มต้นเป็นของไทย หลังจากนั้น ใน พ.ศ.2500 ประเทศไทยจึงนำ เครื่องพิมพ์แบบโรตารี ออฟเซท (Rotary off Set) มาใช้เป็นครั้งแรก โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชนำเครื่องหล่อเรียงพิมพ์ Monotype มาใช้กับตัวพิมพ์ภาษาไทย ธนาคาร แห่งประเทศไทยได้จัดโรงพิมพ์ธนบัตรในเมืองไทยขึ้นใช้เอง


3. กระดาษที่ใช้ในงานพิมพ์
          การจำแนกกระดาษสามารถจัดแบ่งได้หลายวิธี ในที่นี้จะจัดแบ่งชนิดของกระดาษที่ใช้ในวงการพิมพ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้

            กระดาษปรู๊ฟ (Newsprint) เป็นกระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อบดที่มีเส้นใยสั้น และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสมด้วย กระดาษปรู๊ฟมีน้ำหนักเพียง 40 – 52 กรัม/ตารางเมตร มีสีอมเหลือง ราคาไม่แพงแต่ความแข็งแรงน้อย เหมาะสำหรับงานพิมพ์หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่ไม่ต้องการคุณภาพมาก
            กระดาษแบ้งค์ (Bank Paper) เป็นกระดาษบางไม่เคลือบผิว น้ำหนักไม่เกิน 50 กรัม/ตารางเมตร มีสีให้เลือกหลายสี ใช้สำหรับงานพิมพ์แบบฟอร์มต่าง ๆ ที่มีสำเนาหลายชั้น
            กระดาษปอนด์ (Bond Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมีที่ผ่านการฟอกและอาจมีส่วนผสมของเยื่อที่มาจากเศษผ้า มีสีขาว ผิวไม่เรียบ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 60 – 100 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องความสวยงามปานกลาง พิมพ์สีเดียวหรือหลายสีก็ได้
            กระดาษอาร์ต (Art Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และเคลือบผิวให้เรียบด้านเดียวหรือทั้งสองด้าน การเคลือบอาจจะเคลือบมันเงาหรือแบบด้านก็ได้ มีสีขาว น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 160 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการความสวยงาม งานพิมพ์สอดสี เช่นแคตตาล็อก โบร์ชัวร์
            กระดาษฟอกขาว (Woodfree Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อเคมี (เยื่อที่ผลิตโดยใช้สารเคมี) และฟอกให้ขาว เป็นกระดาษที่มีคุณภาพและมีความหนาแน่นสูง การดูดซึมน้อย ใช้สำหรับงานพิมพ์หนังสือ กระดาษพิมพ์เขียน
            กระดาษเหนียว (Kraft Paper)  เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อซัลเฟต (เยื่อใยยาวที่ผลิตโดยใช้สารซัลเฟต) จึงมีความเหนียวเป็นพิเศษ มีสีเป็นสีน้ำตาล น้ำหนักอยู่ระหว่าง 80 – 180 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ กระดาษห่อของ ถุงกระดาษ
            กระดาษการ์ด (Card Board) เป็นกระดาษที่มีความหนาและแข็งแรงประกอบด้วยชั้นของกระดาษหลายชั้น ชั้นนอกสองด้านมักเป็นสีขาว แต่ก็มีการ์ดสีต่าง ๆ ให้เลือกใช้ บางชนิดมีผิวเคลือบมันเรียบ ซึ่งเรียก กระดาษอาร์ตการ์ด น้ำหนักกระดาษการ์ดอยู่ระหว่าง 110 – 400 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำปกหนังสือ บรรจุภัณฑ์ที่มีราคา เช่นกล่องเครื่องสำอาง
            กระดาษกล่อง (Box Paper) เป็นกระดาษที่ทำจากเยื่อบด และมักนำเยื่อจากกระดาษใช้แล้วมาผสม มีสีคล้ำไปทางเทาหรือน้ำตาล ผิวด้านหนึ่งมักจะประกบด้วยชั้นของกระดาษขาวซึ่งอาจมีผิวเคลือบมันหรือไม่ก็ได้เพื่อความสวยงามและพิมพ์ภาพลงไปได้ หากเป็นกระดาษไม่เคลือบ จะเรียก กระดาษกล่องขาว หากเป็นกระดาษเคลือบผิวมัน จะเรียก กระดาษกล่องแป้ง น้ำหนักกระดาษกล่องอยู่ระหว่าง 180 – 600 กรัม/ตารางเมตร ใช้สำหรับทำสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่อง ป้ายแข็ง ฯลฯ
           กระดาษแข็ง (Hard Board) เป็นกระดาษหลายชั้นแข็งหนาทำจากเยื่อไม้บดและเยื่อกระดาษเก่า มีผิวขรุขระสีคล้ำ มีคำเรียกกระดาษชนิดนี้อีกว่า กระดาษจั่วปัง น้ำหนักมีตั้งแต่ 430 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป ใช้ทำใส้ในของปกหนังสือ ฐานปฏิทินตั้งโต๊ะ บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ
           กระดาษแฟนซี (Fancy Paper) เป็นคำเรียกโดยรวมสำหรับกระดาษที่มีรูปร่างลักษณะของเนื้อและผิวกระดาษที่ต่างจากกระดาษใช้งานทั่วไป บางชนิดมีการผสมเยื่อที่ต่างออกไป บางชนิดมีผิวเป็นลายตามแบบบนลูกกลิ้งหรือตะแกรงที่กดทับในขั้นตอนการผลิต มีสีสันให้เลือกหลากหลาย มีทั้งกระดาษบางและหนา ประโยชน์สำหรับกระดาษชนิดนี้สามารถนำไปใช้แทนกระดาษที่ใช้อยู่ทั่วไป ตั้งแต่นามบัตร หัวจดหมาย ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์
         กระดาษอื่น ๆ นอกจากกระดาษชนิดต่าง ๆ ที่เอ่ยมาข้างต้นแล้ว ยังมีกระดาษชนิดอื่น ๆ อีก เช่น กระดาษถนอมสายตา กระดาษกันปลอม (Security Paper) กระดาษเอ็นซีอาร์ (Carbonless Paper) กระดาษสังเคราะห์ กระดาษสติ๊กเกอร์ ฯลฯ

4. อธิบายรายละเอียดต้อไปนี้
      
 - การประมวลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก       วิธีการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์กราฟิกมี 2 แบบ คือ
       1. การประมวลผลแบบ Raster หรือ Bitmap
       2. การประมวลผลแบบ Vector


         1.การประมวลผลแบบ Raster         การประมวลผลแบบ Raster หรือ แบบมิตแมป (Bitmap) หรือเรียกว่าเป็นภาพแบบ Resolution Dependent ลักษณะสำคัญของภาพประเภทนี้ ประกอบขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัว ตามการสร้างภาพที่มีความละเอียดต่างกันไป ภาพแบบบิตแมปนี้ มีข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการระบายสี สร้างสี หรือกำหนดสีที่ต้องละเอียดและสวยงามได้ง่าย ข้อจำกัดคือ เมื่อมีพิกเซลจำนวนคงที่ นำภาพมาขยายให้ใหญ๋ขึ้น ความละเอียดจะลดลง มองเห็นภาพเป็นแบบจุด และถ้าเพิ่มความละเอียดให้แก่ภาพ จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ และเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำมาก
      ในระบบวินโดวส์ (Windows) ไฟล์ของรูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีส่วนขยายหรือ นามสกุล (Extension) เป็น .BMP , .PCX, .TIF, .JPG, .MSP, .PCD, .PCT โปรแกรมที่ใช้สร้างคือ โปรแกรมประเภทระบายภาพ (Painting Program) เช่น Paintbrush, Photoshop,Photostyler เป็นต้น

       2. การประมวลผลแบบ Vector
       การประมวลผลแบบ Vector เป็นภาพแบบเวกเตอร์ หรือ Object-Oriented Graphics หรือเรียกว่า เป็นรูปภาพ Resolution-Independent เป็นภาพที่มีลักษณะของการสร้างจากคอมพิวเตอร์ที่มีการสร้างให้แต่ละส่วนของภาพเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรงรูปทรงหรือส่วนโค้ง โดยอ้างอิงตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งมีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ จึงเรียกประเภท Vector Graphic หรือ Object Oriented ภาพเวกเตอร์นี้มีข้อดีคือ สามารถเปลี่ยนแปลงขนาด โดยมีความละเอียดของภาพไม่ลดลง ภาพสามารถเปลี่ยนแปลงหรือย้ายได้และมีขนาดของไฟล์ที่เล็กกว่าพวกบิตแมป
       ในระบบวินโดวส์ไฟล์รูปภาพประเภทนี้ คือ พวกที่มีนามสกุลเป็น .EPS, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น และโปรแกรมที่ใช้สร้างก็คือ โปรแกรมประเภทวาดรูป (Drawing Program) เช่น CorelDraw หรือ AutoCAD ส่วนบนเมคอินทอช (Macintosh) ก็ได้แก่ โปรแกรม IIIustrator และ Macromedia Freehand หรือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office

      - เครื่อง Scanner
        สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอลซึ่งคอมพิวเตอ์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆได้ดังนี้
            - ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
            - บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
            - เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงไปในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ

             โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์, ชนิดของสแกนเนอร์ และความสามารถในการทำงานของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
        - กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล (Digital Camera)
         กล้องถ่ายภาพระบบดิจิตอล นับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาได้สะดวก โอนถ่ายเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้ทันที เผยแพร่ผ่านอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็ว โดยอุปกรณ์ตัวเล็กชิ้นนี้จะทำงานด้วยตัวสร้างประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า CCD (Charge Coupled Device) ภายในตัวกล้อง ผ่านการกระตุ้นด้วยแสงที่ผ่านเข้ามาทางเลนส์ และส่งผลให้เกิดภาพบนสื่อบันทึกภายในกล้อง เช่น Memory Stick, Memory Card
      - กระดานกราฟิก กระดานกราฟิก (graphic tablet) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์กราฟิก โดยช่วยให้สามารถวาดภาพกราฟิกในคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับการวาดภาพบนกระดาษ  อุปกรณ์นี้จะมีส่วนที่เป็นเมนูคำสั่งบนอุปกรณ์และส่วนวาดภาพ  เมื่อลากเส้นบนส่วนวาดภาพโดยใช้ปากกาที่ให้มาด้วยจะปรากฏเส้นบนจอคอมพิวเตอร์ในลักษณะเดียวกัน  นอกจากนั้นยังสามารถเปลี่ยนสีปากกาและระบายสีได้  อุปกรณ์นี้เหมาะกับงานกราฟิกทางด้านศิลปะหรือการตกแต่งภาพที่ได้จากอุปกรณ์นำเข้าภาพ
       - คอมพิวเตอร์กราฟิก
1.    เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มี CPU รุ่น Pentium หรือรุ่นที่สูงกว่า
2.    ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows98 /Windows ME/Windows2000/ WindowsXP
         หรือ Windows NT4.0 ที่ติดตั้ง Service Pack 4 ,5 หรือ 6a เป็นอย่างน้อย
3.    RAM อย่างน้อย 128 MB ขึ้นไป              
4.    Hard Disk เนื้อที่ว่างอย่างน้อย 125  MB
5.    การ์ดจอแสดงผลสีหน้าจอ  256 สี  (8 บิต)   หรือ 24 บิต ขึ้นไปสำหรับงานกราฟฟิก
                        6.   แสดงผลความละเอียดของจอภาพ 800 X 600 พิกเซล
           - ปากกาแสง
               ปากกาแสง (Light pen)  เป็นปากกาพิเศษที่มีสานต่อไปยังระบบคอมพิวเตอร์  ใช้สำหรับการบอกตำแหน่ง  ข้อดีของปากกาแสงคือ  สามารถจี้ไปบนจอภาพโดยตรงเพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุซึ่งมองเห็นบนจอภาพได้ทันที
           - จอสัมผัส
               จอสัมผัส (Touch screen)  จะทำงานคล้ายกับปากกาแสง แต่จอภาพจะเคลือบสารพิเศษ  ทำให้สามารถรับตำแหน่งของการสัมผัสด้วยมือมนุษย์ได้ทันที
           - พล็อตเตอร์ 
                พล็อตเตอร์ (Plotter)  เป็นอุปกรณ์แสดงผลกราฟิกที่มีปากกาเคลื่อนที่บนแกน  สามารถเขียนรูปร่างต่าง ๆ  บนกระดาษตามคำสั่งจากโปรแกรม  ปกติจะใช้ในการเขียนแบบทางวิศวกรรมเป็นส่วนใหญ่
        - หลักการใช้แสงและสีในคอมพิวเตอร์                 - คอมพิวเตอร์กราฟฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ
3 ระบบสีของคอมพิวเตอร์  ระบบสีของคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกับการแสดงผลของแสงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีการแสดงผลสีใด  บนจอภาพจะแสดงเป็น สีดำหากสีทุกสีแสดงพร้อมกันจะเห็นสีบนจอภาพเป็น สีขาวส่วนสีอื่น ๆ  เกิดจากการแสดงสีหลาย ๆ สี  แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสีระบบ Additive
                -การแสดงสีระบบ Additive
สีในระบบ Additive  ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี คือ แดง (Red) เขียว (Green)  น้ำเงิน (Blue)เรียกรวมกันว่า  RGB หรือ แม่สี
                -ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์
                ระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ประกอบด้วย สีฟ้า (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta)  และสีเหลือง(Yellow)   คือ ระบบ CMYK
                -วรรณะของสี
จากการที่นักเรียนได้ศึกษาเรื่อง แม่สี ในกลุ่มต่างๆ และเรื่องวงจรสีมาแล้ว รวมทั้งได้ทำกิจกรรมต่างๆ คงพอทำให้มีพื้นฐานทางการใช้สีในงานศิลปะแต่ทราบหรือไม่ว่าสีที่นักเรียนผสมออกมาทั้ง 12 สีนั้น สามารถแยกออกเป็นสองกลุ่มตามค่าความเข้มของสี หรือที่เรียกว่าวรรณะของสี (Tone of color)  วรรณะของสีก็คือ ค่าความแตกต่างของสีแต่ละด้านของวงจรสีที่แสดงถึงความรู้สึกที่แตกต่างกัน ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับเสียงเพลงหรือเสียงดนตรีก็คือเสียงสูง เสียงต่ำ ที่แสดงออกทางอารมณ์ ที่มีการเคลื่อนไหว มีชีวิตชีวา หรือเศร้าโศกหรือรันทดใจ
 
           - คอมพิวเตอร์กราฟฟิคกับการออกแบบ (CAD)คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน ซึ่ง CAD (Computer-Aided Design) เป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่างๆได้สะดวกขึ้น คือ ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้นแล้วลงสี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้ นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้นหรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่างๆได้ด้วย การแก้ไขแบบก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการออกแบบบนกระดาษ
           - กราฟและแผนภาพ

               คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการแสดงภาพกราฟและแผนภาพของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟและแผนภาพ โปรแกรมเหล่านี้ยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟววงกลม นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ ทำให้ภสพที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น กราฟหรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก เนื่องจากสามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ในงานวิจัยต่างๆ เช่น การศึกษาทางฟิสิกส์ กราฟและแผนภาพมีส่งนช่วยให้นักวิจัยทำความเข้าใจกับข้อมูลได้ง่ายขึ้น เมื่อข้อมูลที่ต้องวิเคราะห์มีจำนวนมาก หรือ แม้แต่การแสดงโครงสร้างของอวัยวะของร่างกายในการศึกษาในวงการแพทย์ ก็มีส่วนสำคัญในการวิเคราะห์วสาเหตุของการเจ็บป่วย
           -  ภาพศิลป์ (Art)
การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้ เราสามารถกำหนดสี แสงเงา รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์หลายชิ้นก็เป็นงานจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ เราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย นอกจากนี้เรายังสามารถนำภาพต่างๆเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Scanner) แล้วนำภาพนั้นมาแก้ไข


         5. อธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่าง โหมดสี RGB และ โหมดสี CMYK

RGB เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง , สีเขียวและสีน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า , สีม่วงแดง , สีเหลือง , และสีดำ เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลด หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ