วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ

             คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์ ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้งและรวบรวมเพื่อประกาศผล                           
                  การคิดภาษีอากร การบริหารทั่วไป การสวัสดีการต่าง ๆ การรวบรวมข้อมูลและสถิติ การบริหารงาน การทำงานสาธารณูปโภคในการทหารอาจจะใช้คอมพิวเตอร์ในการยิงจรวจนำวิถี การยิ่งปืนใหญ่ การเดินเรือรบ เป็นต้น        
                 กระทรวงยุติธรรมใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกคำพิพากษาศาลฎิกาฉบับย่อทุกคดีให้ผู้พิพากษาได้ค้นหาคดีต่าง ๆ เพื่อประกอบพิจารณาตัดสินความ
                กระทรวงศึกษาธิการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำประวัติครูทั่วประเภท ทำสถิตินักเรียนและโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อช่วยในการบริหารการศึกษาทั่วประเทศ
                 กระทรวงพาณิชย์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำสถิติข้อมูลการค้าของประเทศ ทำดัชนีราคา เก็บทะเบียนการค้า การควบคุมโควต้าการส่งออกสินค้าบางชนิด ฯลฯ
                กระทรวงอุตสาหกรรมใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บทะเบียนโรงงาน ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติกระทรวงเกษตรใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลผลผลิตทางการเกษตร เพื่อวางแผนร่วมกับ
                กระทรวงพาณิชย์ในการส่งเสริมการผลิต
                กระทรวงมหาดไทยใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนสำมะโนครัว บัตรประจำตัวประชาชน รวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ของกระทรวงก็มีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ เช่น      กรมราชทัณฑ์ใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมรายชื่อผู้ต้องขังในคดีต่าง ๆ คำนวณวันพ้นโทษ คำนวณวันอภัยโทษ      กรมตำรวจใช้คอมพิวเตอร์ในการทำทะเบียนประวัติอาชยากร รวบรวมสถิติอาชญากรรม การติดต่อสื่อสาร
                กระทรวงการคลังใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาษีอากรและตรวจสอบว่าการเสียภาษีอากรถูกต้องหรือไม่
การไฟฟ้า การประปา และองค์การโทนศัพท์ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชีและออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ใช้บริการ

โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก

ประเภทของโปรแกรมสำหรับงานกราฟิก          

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

          ในอดีตคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ( Computer Graphics ) สามารถถูกสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ได้แพร่หลายมากขึ้นและผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกก็มีอยู่ทุกระดับ
       
          ความรู้เรื่องความละเอียด
พิกเซล ( Pixel)      
          พิกเซล (Pixel) เป็นคำผสมของคำว่า Picture กับคำว่า Element หรือหน่วยพื้นฐานของภาพ เทียบได้กับ "จุดภาพ" 1 จุด แต่ละพิกเซลเปรียบได้กับสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่บรรจุค่าสี โดยถูกกำหนดตำแหน่งไว้บนเส้นกริดของแนวแกน x และแกน y หรือในตารางเมตริกซ์สี่เหลี่ยม ภาพบิตแมปจะประกอบด้วยพิกเซลหลายๆ พิกเซล

ความละเอียดในการแสดงผล ( Resolution ) 
          คำนี้สามารถใช้ได้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น ความละเอียดของการแสดงผลของเครื่องพิมพ์ หรือความละเอียดในการแสดงผลของจอภาพ ดังนั้นความละเอียดในการแสดงผลจึงหมายถึง จำนวนหน่วยต่อพื้นที่

ความละเอียดของรูปภาพ 
           หมายถึง จำนวนพิกเซลต่อพื้นที่การแสดงผล มีหน่วยเป็นพิกเซลต่อนิ้ว ( pixels per inch - ppi ) โดยพิกเซลจะมีขนาดไม่แน่นอนขึ้นกับอุปกรณ์เอาต์พุต

ความละเอียดของจอภาพ           หมายถึง หน่วยของจำนวนจุดที่มากที่สุดที่จอคอมพิวเตอร์สามารถผลิตได้ โดยความละเอียดในการแสดงผลของจอ จะขึ้นกับวีดีโอการ์ด ที่เรียกว่าการ์ดจอ ซึ่งจะมีความสามารถในการแสดงผลหลากหลาย

ความละเอียดของเครื่องพิมพ์
           คือ จำนวนจุดเลเซอร์ที่เครื่องพิมพ์สามารถผลิตได้ต่อนิ้ว


ระบบสีของคอมพิวเตอร์
ระบบสี Additive       
<>RGB Color
            ปกติเมื่อพูดถึงสี มักจะนึกถึงแม่สี 3 สีแต่อย่างไรก็ตาม การใช้สีกับงานกราฟิกในคอมพิวเตอร์ มีรายละเอียดหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ดังนั้นจึงควรทราบระบบสีของคอมพิวเตอร์ก่อน

           สีในระบบ Additive ประกอบด้วยสีหลัก 3 สี (เช่นเดียวกับแม่สี) คือ สีแดง ( Red) สีเขียว (Green) และ สี  น้ำเงิน ( Blue) เรียกรวมกันว่า RGB ซึ่งมีรูปแบบการผสมสีของ RGB ดังนี้

ระบบสี Subtractive
            ระบบสี Subtractive มีลักษณะที่ตรงข้ามกับ Additive โดยสีแต่ละสีจะได้จากการลบสีต่างๆ ออกไปจากระบบ ดังนั้น หากไม่มีการแสดงสีใดๆ จะแสดงผลเป็นสีขาว ขณะที่การแสดงสีทุกสี จะปรากฏเป็นสีดำ และสีหลัก หรือแม่สีของระบบนี้ จะประกอบด้วย สีฟ้า ( Cyan) สีม่วงแดง ( Magenta) และสีเหลือง ( Yellow) หรือระบบ CMY เป็นระบบสีที่ใช้กับงานสิ่งพิมพ์ ซึ่งมักจะรวมเอาสีดำ มาเป็นแม่สีด้วย จึงเรียกว่าระบบ CMYK (Cyan, Magenta, Yellow, blacK) นั่นเอง

วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สัญญาณไวร์เลสมีอันตรายหรือไม่ ??

              
                   สัญญาณไวร์เลสมีอันตรายหรือไม่ ?? .. มีอันตราย เพราะ การใช้ไวร์เลส ในพื้นที่สาธารณะ ย่านธุรกิจ ห้างสรรพสินค้า เสี่ยงสูง ถูกแฮกเกอร์ล้วงข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งภาพหวิว คลิปฉาว แนะนำอย่าทำธุรกรรมทางการเงินในที่สาธารณะ จะปลอดภัยที่สุด

                  ซึ่งจากข้อมูล สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังและติดตามพัฒนาการหลอกลวงของผู้กระทำความผิดทางเทคโนโลยีและสารสนเทศ ประกอบกับสถานการณ์ที่คนไทยปัจจุบันต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีไร้สายอย่างโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้กระทำความผิดใช้หลอกลวงผู้เสียหาย ดังปรากฏ เป็นข่าวให้เห็นเสมอ

                   ประกาศเตือนและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบและระมัดระวังตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตของคนไทยยังมีอีกหลายแง่มุม ที่ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และที่น่าเป็นห่วงในขณะนี้ก็คือการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า ไร้สาย

                   ปัจจุบันเริ่มมีประชาชนใช้โทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต หรือใช้สัญญาณไวร์เลสในการเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทั้งที่บ้านและในที่สาธารณะ อาจเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้กระทำความผิดก่อเหตุได้ง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมามีการโจรกรรมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า แฮกเกอร์แม้จะกระทำผ่านคอมพิวเตอร์บ้านไม่ใช่แบบไร้สาย การติดตามตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีก็ยังเป็นเรื่องยาก

                  แต่การใช้ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความผิดก่อเหตุโดยง่ายแล้วยังทำให้การติดตามตัวผู้กระทำความผิด เป็นไปด้วยความยากลำบากขึ้นอีกด้วย

                  หากพบสัญญาณ โปรแกรมดังกล่าวจะโชว์หมายเลขโทรศัพท์และชื่อของเจ้าของเครื่องนั้นๆ แฮกเกอร์จะทดลองเจาะเข้าไปทีละเครื่องโดยการส่ง SMS ด้วยข้อความล่อลวงต่างๆ เพียงเพื่อให้ประชาชนกดปุ่มใดปุ่มหนึ่งบนโทรศัพท์ และไม่ว่าจะเลือกกดปุ่มใดแฮกเกอร์ก็สามารถทำให้เป็นการตอบตกลงตามข้อเสนอ

                  ผลที่ออกมาก็เหมือนเป็นการยืนยันการต่อสัญญาณให้แฮกเกอร์ หลังจากนั้นก็จะขโมยข้อมูลทั้งหมด และอาจมุ่งเป้าไปที่การทำธุรกรรมการเงินผ่านโทรศัพท์ เพราะหากมันทำสำเร็จนั่นหมายความว่า ทรัพย์ที่ได้จากการโจรกรรมจะมีมูลค่ามหาศาลทีเดียว

                  ดังนั้น จึงเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการใช้ระบบสื่อสารไร้สาย ทั้งไวร์เลสว่า ไม่ควรเชื่อมต่อระบบไวร์เลสกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊กที่มีข้อมูลสำคัญ หากจะเก็บข้อมูลสำคัญควรเก็บไว้ในที่ๆ แฮกเกอร์เข้าถึงยาก เช่น แฟลชไดร์ เอ็กเทอร์นอลฮาร์ดดิสก์ ซีดี และควรเข้ารหัสข้อมูลที่สำคัญ เป็นต้น ยิ่งนำไปใช้ในที่สาธารณะควรระมัดระวังเป็นพิเศษ


 

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

OSI Model 7 layer




การแบ่งชั้นใน OSI Model
โมเดลนี้ได้ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 7 ชั้นอันได้แก่ Application, Presentation, Session, Transportation, Network, Data Link และ Physical ตามลำดับจากบนลงล่าง เหตุผลที่โมเดลนี้ถูกแบ่งออกเป็น 7 ชั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจว่าแต่ละชั้นนั้นมีความสำคัญอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างชั้น ซึ่งโดยหลักๆแล้วแต่ละชั้นจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับชั้นที่อยู่ติดกันกับชั้นนั้นๆ


1. application layer
            
           เป็นชั้นที่อยู่บนสุดของขบวนการรับส่งข้อมูล ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ โดยจะรับคำสั่งต่างๆจากผู้ใช้ส่งให้คอมพิวเตอร์แปลความหมาย และทำงานตามคำสั่งที่ได้รับในระดับโปรแกรมประยุกต์ เช่นแปลความหมายของการกดปุ่มเมาส์ให้เป็นคำสั่งในการก็อปปี้ไฟล์ หรือดึงข้อมุลมาแสดงผลบนหน้าจอเป็นต้น ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ Web Browser,HTTP,FTP,Telnet,WWW,SMTP,SNMP,NFS เป็นต้น
2. Presentation Layer

                เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ตกลงกับคอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งในชั้นเดียวกันว่า การรับส่งข้อมูลในระดับโปรแกรมประยุกต์จะมีขั้นตอนและข้อบังคับอย่างไร จุดประสงค์หลักของ Layer นี้คือ กำหนดรูปแบบของการสื่อสาร อย่างเช่น ASCII Text,EBCDIC,Binary และ JPEG รวมถึงการเข้ารหัส (Encription)ก็รวมอยู่ใน Layer นี้ด้วย ตัวอย่างเช่น โปรแกรม FTP ต้องการรับส่งโอนย้ายไฟล์กับเครื่อง server ปลายทาง โปรโตคอล FTP จะอนุญาติให้ผู้ใช้ระบุรูปแบบของข้อมูลที่โอนย้ายกันได้ว่าเป็นแบบ ASCII text หรือแบบ binary ตัวอย่างของ protocol ในชั้นนี้ คือ JPEG,ASCII,Binary,EBCDICTIFF,GIF,MPEG,Encription เป็น

3. Session Layer



วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเข้าสายLAN

วิธีการเข้าสาย UTP กับขั้วต่อ RJ45    
       1. นำสาย UTP มาปอกฉนวนหุ้มที่ปลายสายทั้งสองด้านยาวประมาณ 3 ซ.ม. เมื่อปอกแล้วจะพบเห็นสายอยู่ 4 คู่ บิดเป็นเกลี่ยวแยกสีไว้ชีดเจน
   
       2. คลายเกลียวที่สายออก แล้วเรียงสายตามสีที่กำหนด
                สาย สัญญาณชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีการเรียงสีเพื่อเข้าขั้ว RJ45 เหมือนกันทั้งสองด้าน
รูปแสดง การเรียงสีของสาย UTP
ชนิดที่เชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์เข้า Hub หรือ Switch ความเร็ว 100 Mbps    
   
หัวสายด้านที่ 1
ลำดับสายที่
หัวสายด้านที่ 2
ขาว
ส้ม
1
ขาว
ส้ม
ส้ม
2
ส้ม
ขาว
เขียว
3
ขาว
เขียว
ฟ้า
4
ฟ้า
ขาว
ฟ้า
5
ขาว
ฟ้า
เขียว
6
เขียว
ขาว
น้ำตาล
7
ขาว
น้ำตาล
น้ำตาล
8
น้ำตาล